
นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัลและเทคโนโลยี ถือเป็นภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย ซึ่งความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ขับเคลื่อนการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ไปยังสถาบันการศึกษาในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั่วประเทศ
จะทำให้นักเรียนและเยาวชนมีความรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ที่แฝงมากับการใช้งานอินเทอร์เน็ต และสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้เกิดขึ้นสูงสุด เป็นการยกระดับภาคการศึกษาไทยให้ทั้งครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน ในกลุ่มก่อนระดับอุดมศึกษา มีองค์ความรู้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยี ผ่านการเรียนการสอนที่หลากหลาย อาทิ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว หรือรูปแบบการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับโครงสร้างวิธีการทำงานของแต่ละสถาบันการศึกษา ด้วยความพร้อมของบุคลากรของ สพฐ. ทั้ง 245 เขต จะสามารถขยายผลให้ครูและนักเรียนทั่วประเทศได้เรียนรู้เนื้อหาหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ภายในภาคต้น ของปีการศึกษา 1/2566 ที่กำลังจะมาถึง เชื่อจะช่วยผู้เรียนให้สามารถรับมือและอยู่ร่วมกับการใช้งานออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์”
พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การทำงานร่วมกับเอไอเอส พัฒนา หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ถือเป็นการสะท้อนนโยบายที่เป็นรูปธรรม ทั้งนี้ กรมสุขภาพจิต ได้ทำหน้าที่จัดทำเนื้อหาที่เหมาะสมกับประชาชนทุกกลุ่ม ทุกวัย ในลักษณะของการกระตุ้นเตือน แนะนำ ให้สามารถใช้ชีวิต รับมือกับความท้าทายต่างๆ ในยุคดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ นับได้ว่าสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขอย่างชัดเจน
ด้านนางสาวดารุวรรณ ศรีแก้ว อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า การเรียนรู้ในหลักสูตรนี้จะช่วยให้ทุกคนที่ปรับตัวในการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล เป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพและใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์อย่างปลอดภัย
สำหรับหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ เกิดจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการยกระดับการเรียนการสอน ปลูกฝังทักษะดิจิทัล ผ่านเนื้อหา 4 Professional Skill Module หรือ 4P4ป คือ Practice: ปลูกฝังให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้องและเหมาะสม Personality: แนะนำการปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ Protection: เรียนรู้การป้องกันภัยไซเบอร์บนโลกออนไลน์ และ Participation: รู้จักการปฏิสัมพันธ์ด้วยทักษะและพฤติกรรมการสื่อสารบนออนไลน์อย่างเหมาะสมเพื่อปกป้องภัยไซเบอร์ รวมถึงสร้างภูมิคุ้มกันการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลยุคใหม่ให้กับเด็ก เยาวชนและคนไทย
![]() |
![]() |
![]() |